แนวทางการเจรจาของไทย

แนวทางการเจรจาของไทย

วันที่นำเข้าข้อมูล 23 ม.ค. 2562

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 28 พ.ย. 2565

| 4,516 view

 

    เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของชาติให้ดีที่สุด มีความจำเป็นที่ผู้แทนไทยต้องเข้าร่วมกระบวนการเจรจาอย่างแข็งขันตั้งแต่แรกเริ่มกระบวนการ กล่าวคือตั้งแต่เริ่มการเจรจาจัดทำ zero draft ที่เสนอโดยกลุ่มประเทศที่ไทยร่วมอยู่ เช่น กลุ่ม 77 กลุ่ม FPGH หรือกลุ่ม OIF เป็นต้น หรือตั้งแต่เริ่มเจรจาบนพื้นฐานของ zero draft ในกรณีอื่น ๆ ดังนั้น ไทยจึงต้องมีท่าทีที่แน่ชัดโดยเร็วที่สุด และต้องการเคารพกำหนดเวลาที่เกี่ยวข้องในขั้นตอนต่าง ๆ ของการเจรจาอย่างเคร่งครัด

          หากไทยไม่เห็นด้วยกับถ้อยคำใดในการเจรจา หรือต้องการเสนอแก้ไขถ้อยคำ ควรดำเนินการโดยเร็วที่สุด และในทุกกรณีควรดำเนินการให้เสร็จในชั้น informal consultations เพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า(confrontation) กับประเทศที่เสนอร่างข้อมติ โดยการเสนอข้อแก้ไขร่างข้อมติในชั้นกระบวนการทางการ (หลังจากที่ร่างข้อมติออกมาเป็น L Document และเข้าสู่กระบวนการทางการของสมัชชาฯ แล้ว) ซึ่งจะมี “ราคา” ทางการเมืองสูงมาก อีกทั้ง ยังจะเป็นการสร้างอุปสรรคที่ไม่จำเป็นแก่มิตรประเทศที่เป็นผู้เสนอร่างข้อมติ ซึ่งมักหวังให้ร่างข้อมติได้รับการรับรองโดยฉันทามติอย่างราบรื่น เว้นแต่ว่าเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งยวด ที่เป็นเรื่องของหลักการหรือผลประโยชน์พื้นฐานของประเทศ ซึ่งไทยได้ดำเนินการผลักดันอย่างเปิดเผยมาแล้วตั้งแต่ช่วงกระบวนการเจรจาไม่เป็นทางการ แต่ไม่สำเร็จหรือไม่ได้รับการสนใจจากประเทศผู้เสนอ ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินการของไทยมีความชอบธรรมมากที่สุด