คณะกรรมการ 6 (กฎหมาย)

คณะกรรมการ 6 (กฎหมาย)

วันที่นำเข้าข้อมูล 23 ม.ค. 2562

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 27 พ.ย. 2565

| 3,529 view

1. ข้อมูลเกี่ยวกับคณะกรรมการ 6

1.1 หน้าที่/ความรับผิดชอบ

          พิจารณาประเด็นเกี่ยวกับกฎหมาย โดยจะมีระเบียบวาระทั้งแบบประจำปี (อาทิ มาตรการต่อต้านการก่อการร้าย หลักนิติธรรม รายงานของ ILC และรายงานของ UNCITRAL) และแบบที่เวียนมาทุก ๆ 3 ปี (อาทิ การขับไล่คนต่างด้าว ผลของการขัดกันทางอาวุธต่อสนธิสัญญา และความรับผิดขององค์การระหว่างประเทศ)

         หน้าที่ของ จนท. คกก. 6 ไม่ได้จำกัดอยู่แค่การหารือใน คกก. 6 เท่านั้น แต่รวมถึงการหารือประเด็นที่เกี่ยวกับกฎหมายใน Plenary ด้วย อาทิ รายงานของ ICJ รายงานของ ICC และมหาสมุทร/กฎหมายทะเล

         1.2 ประเด็นสำคัญในกรอบคณะกรรมการ

           หลายประเด็นเป็น standing agenda ที่หารือกันเป็นประจำทุกปี ซึ่งแต่ละประเด็นก็จะมีความสำคัญในมิติที่แตกต่างกันไป อย่างไรก็ดี ในบางปีบางประเด็นก็จะได้รับความสนใจเป็นพิเศษขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในช่วงนั้น อาทิ ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ประเด็นมาตรการต่อต้านการก่อการร้ายจะได้รับความสนใจเป็นพิเศษเนื่องจากเกิดเหตุการก่อการร้ายขึ้นบ่อยครั้ง และในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ประเด็นหลักนิติธรรมก็จะได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากหลักนิติธรรมเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของ SDGs (Goal 16)

1.3 กรอบระยะเวลาการทำงาน

             คกก. 6 จะประชุมตั้งแต่ต้นเดือน ต.ค. จนถึงต้นเดือน พ.ย. ของทุกปี แต่ต้องไม่ลืมว่าเรารับผิดชอบในส่วนของกฎหมายทะเลด้วย ซึ่งจะมีการหารือกันภายหลังจากที่ คกก. 6 ประชุมเสร็จในช่วงเดือน พ.ย. ดังนั้น ควรปรึกษา จนท. ของ คผถ. นิวยอร์กเพื่อกำหนดวันเดินทางกลับที่เหมาะสม ขึ้นอยู่กับว่า คผถ. ต้องการให้อยู่ช่วยงานด้านกฎหมายทะเลต่อหรือไม่

1.4 ลักษณะ/รูปแบบการทำงาน

             เหมือนการ ปช. UN ทั่วไป คือจะมีประธาน รองประธาน ฯลฯ นำที่ประชุมพิจารณาเป็นราย agenda หากไทยต้องการจะกล่าวถ้อยแถลงก็แจ้งไปยังฝ่ายเลขาธิการหรือผ่านระบบออนไลน์ โดยส่งร่างถ้อยแถลงไปให้ด้วย เพื่อฝ่ายเลขาธิการโหลดขึ้น web ทันทีที่ไทยกล่าวเสร็จ ใครแจ้งไปก่อนก็จะได้กล่าวก่อน โดยทุกเช้าต้องไปดูที่ประตูว่าไทยได้พูดลำดับที่เท่าไหร่ หากจำเป็นก็สามารถขอแลกลำดับกับประเทศอื่นได้

             นอกจากการพิจารณาใน คกก. 6 แบบเต็มคณะแล้ว ก็ยังมีการหารือใน Working Groups (WGs) ต่าง ๆ ซึ่งตั้งขึ้นเป็นรายปีเพื่อพิจารณาประเด็นสำคัญเฉพาะเรื่อง โดยปัจจุบันมีทั้งหมด 3 WGs ในเรื่องความรับผิดชอบทางอาญา การก่อการร้ายสากล และเขตอำนาจสากล ซึ่งรูปแบบการหารือใน WGs จะเป็นทางการน้อยกว่าการกล่าวถ้อยแถลงตาม agenda ใน คกก. แบบเต็มคณะ โดย WGs เหล่านี้จะต้องรายงานผลการหารือให้ คกก. 6 รับทราบในช่วงท้าย ๆ ของ กปช.

               International Law Week: จะจัดขึ้นในช่วงที่มีการพิจารณาวาระรายงานของ ILC โดยจะมีที่ปรึกษากฎหมายของรัฐบาลจากหลายประเทศทั่วโลกเดินทางมาเข้าร่วม และจะมีกิจกรรม side events ต่าง ๆ มากมาย เราจะต้องรับคณะผู้แทนกระทรวงฯ (โดยมากจะเป็นระดับอธิบดีหรือรองอธิบดี) ร่างถ้อยแถลงให้ท่านกล่าว และจัดกำหนดการ side events ให้ท่านเข้า ทั้งนี้ อาจมีประเทศอื่นมาขอหารือทวิภาคีกับผู้แทนกระทรวงฯ (อาทิ สิงคโปร์และนิวซีแลนด์ขอหารือ รอธ. วิลาวรรณฯ ในช่วง International Law Week ของ UNGA 72 ซึ่งเราก็ต้องจัดการนัดหมายและเตรียมประเด็นสนทนาให้)

 1.5 กระบวนการขั้นตอนการนำเสนอและพิจารณาร่างข้อมติ

            ร่างข้อมติส่วนมากจะเป็น standing resolutions ที่ฝ่าย Bureau เป็นคนริเริ่มเป็นประจำทุกปี โดยจะมีประเทศที่รับเป็นผู้เสนอร่างข้อมติในนามของ Bureau และทำหน้าที่เป็น Facilitator ซึ่งมีหน้าที่เรียกประชุมหารือ แบบ informal เพื่อพิจารณาร่างข้อมติ เราต้องติดตามและเข้าร่วมการหารือแบบ informal ดังกล่าว โดยต้องเช็คในอีเมลที่ฝ่ายเลขาธิการฯ / ประเทศ Facilitators เวียนให้ทราบถึงวัน เวลา และสถานที่สำหรับการประชุมในแต่ละครั้ง ซึ่งโดยมากจะเป็นช่วงเช้า/เย็น ก่อน/หลัง การประชุม คกก. 6 หรือระหว่างช่วงพักเที่ยง

            เราต้องมีโทรเลขแจ้งกระทรวงฯ ถึงผลการหารือใน informal meetings และแนบร่างข้อมติฯ เข้าไปเพื่อให้กระทรวงฯ พิจารณาด้วย โดยส่วนมากจะรอให้มีการหารือ informal meeting ครั้งแรกก่อนที่จะทำโทรเลขเข้าไปเพราะจะได้รายงานท่าทีเบื้องต้นของประเทศต่าง ๆ เข้าไปด้วยเลย แต่บางทีหากเป็นเรื่องสำคัญและต้องการท่าทีที่ชัดเจนก็ส่งร่างข้อมติเข้าไปเพื่อขอความเห็นก่อนการประชุม informal ครั้งแรกก็ได้  ทั้งนี้ ร่างข้อมติที่เป็นข้อมติประจำปีจะไม่มีการถกเถียงกันมากนัก เนื่องจากจะมีเนื้อหาคล้ายข้อมติของปีก่อน

 

2. ผู้เล่นสำคัญ

2.1 ประเทศหรือกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญ

            ขึ้นอยู่กับประเด็นนั้น ๆ แต่โดยมากประเทศ/กลุ่มประเทศ ที่มีบทบาทหลัก/โดดเด่น ได้แก่ สหรัฐฯ รัฐเซีย ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร เอลซัลวาดอร์ ไนจีเรีย จีน สิงคโปร์ EU, African Group, CELAC, CARICOM

2.2 ประเทศหรือกลุ่มที่เป็นพันธมิตรกับไทย

            กลุ่มประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะสมาชิก G77 และ ASEAN

            โดยมากสมาชิก ASEAN จะมีการกล่าว statements ร่วมกัน โดยสำหรับ UNGA72 ASEAN ได้กล่าวถ้อยแถลงในเรื่องหลักนิติธรรม มาตรการต่อต้านการก่อการร้าย และโครงการให้ความช่วยเหลือของ UN นอกจากนี้ กลุ่ม NAM ก็มีการกล่าวถ้อยแถลงในนามสมาชิก อาทิ ในวาระเรื่องมาตรการต่อต้านการก่อการร้าย

2.3 ประเทศหรือกลุ่มที่มีท่าทีขัดแย้งกับผลประโยชน์ของไทย

            ไม่มีประเทศใดแสดงท่าทีขัดแย้งกับผลประโยชน์ของไทยอย่างชัดเจน

 

3. ผลประโยชน์ของไทย

           Programme of Assistance : UN ให้สนับสนุนเงินส่วนหนึ่งเพื่อให้ไทยเป็นเจ้าภาพจัด UN Regional Course in International Law สำหรับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เป็นประจำทุกปี แต่ก็มีบางปีที่ UN งบไม่เพียงพอทำให้ไม่สามารถจัดได้    ดังนั้น ไทยควรกล่าวถ้อยแถลงย้ำความสำคัญของ UN Regional Course in International Law เรียกร้องให้ทุกประเทศสนับสนุนการจัดสรรงบประมาณที่เพียงพอต่อกิจกรรมดังกล่าว

           ประเด็นอื่น ๆ ที่มี implications สำหรับไทย และจำเป็นต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ (1) Responsibility of international organization เนื่องจากไทยเป็นที่ตั้งของ IOs หลายแห่ง (2) Criminal accountability of UN officials เนื่องจากที่ผ่านมาไทยเองก็เคยส่งเจ้าหน้าที่เข้าร่วม peacekeeping operations ของ UN รวมทั้งหมดกว่า 20,000 คน (3) รายงานของ UNCITRAL เนื่องจากไทยต้องการผลักดันประเด็นการปฏิรูประบอบ ISDS โดยได้มี Thailand’s submission ในเรื่องนี้ไปแล้ว และ (4) รายงานของ ILC โดยเฉพาะในประเด็น immunity of state officials from foreign criminal jurisdiction เนื่องจากอาจมี implications กับ Head of State ของไทย

 

4. บทบาทสำคัญของไทย

           เป็นเจ้าภาพจัด UN Regional Course in International Law สำหรับภูมิภาคเอเชีย-แฟซิฟิก (สามารถชูบทบาทนี้ได้ในวาระ Programme of Assistance)

           เป็นสมาชิก UNCITRAL มาต่อกันหลายสมัยและได้เสนอ Thailand’ Submission เกี่ยวกับ ISDS Reform (สามารถชูเรื่องนี้ได้ในวาระรายงานของ UNCITRAL)

 

5. ร่างข้อมติสำคัญ (แยกตาม cluster หรือหมวดหมู่)

          ใน คกก. 6 ร่างข้อมติที่สำคัญเป็นพิเศษสำหรับไทย ได้แก่ ร่างข้อมติเกี่ยวกับ Programme of Assistance และร่างข้อมติเกี่ยวกับ UNCITRAL (ซึ่งไทยร่วมอุปถัมภ์มาโดยตลอด) ทั้งนี้ อาจมีร่างข้อมติ ad hoc ที่ไทยอาจพิจารณาร่วมสนับสนุน อาทิ ร่างข้อมติ UNGA72 เกี่ยวกับการให้สถานะผู้สังเกตการณ์ใน UNGA แก่องค์การระหว่างประเทศ ซึ่งไทยเป็นสมาชิก อาทิ INBAR และ AMRO

          ใน Plenary ร่างข้อมติที่สำคัญสำหรับไทย ได้แก่ ร่างข้อมติ fisheries เนื่องจากมีประเด็น IUU และร่างข้อมติ Omnibus เกี่ยวกับมหาสมุทร

 

6. ข้อควรระมัดระวัง เช่น ประเด็นอ่อนไหว

ประเด็น immunity of state officials from foreign criminal jurisdiction ในรายงานของ ILC

 

7. กรม/กอง ที่รับผิดชอบประเด็นในคณะกรรมการ/หน่วยงานไทยที่เกี่ยวข้อง

           หน่วยงานหลัก: กองพัฒนางานกฎหมายระหว่างประเทศ / กองกฎหมาย / กองสนธิสัญญา

           หน่วยงานรอง: กรมองค์การระหว่างประเทศ / กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ / กลุ่มงานความมั่นคง /กรมอาเซียน รวมทั้งหน่วยงานภายนอกกระทรวงฯ อาทิ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานอัยการสูงสุด และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

 

8. ข้อมูลอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับฝ่าย secretariat ของคณะกรรมการ (หากมี)

          สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ใน Practical Handbook for Thailand’s Sixth Committee Delegate (work-in-progress) ซึ่งกองพัฒนางานกฎหมายระหว่างประเทศเป็นผู้จัดทำ