คณะกรรมการ 5 (งบประมาณ และการบริหารจัดการองค์การ)

คณะกรรมการ 5 (งบประมาณ และการบริหารจัดการองค์การ)

วันที่นำเข้าข้อมูล 23 ม.ค. 2562

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 26 พ.ย. 2565

| 3,736 view

1. ข้อมูลเกี่ยวกับคณะกรรมการ 5

1.1 หน้าที่/ความรับผิดชอบ

           คณะกรรมการ 5 รับผิดชอบประเด็นที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการ และงบประมาณของสหประชาชาติ

1.2 ประเด็นสำคัญในกรอบคณะกรรมการ

(1) โครงการปรับปรุงซ่อมแซมอาคารสำนักงานต่าง ๆ อาทิ ESCAP ECLAC UNON ECA SHP

(2) คำของบประมาณปกติ และงบประมาณปฏิบัติการรักษาสันติภาพ

(3) การปฏิรูปการบริหารสหประชาชาติ โดยเฉพาะประเด็นการจัดตั้งศูนย์บริการด้านงานธุรการ (Global Service Delivery Model - GSDM)

(4) อัตราการค่าบำรุงงบประมาณปกติ และงบประมาณปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ

(5) การบริหารทรัพยากรบุคคล

(6) ข้อเสนอปรับโครงสร้างสำนักงานต่าง ๆ เช่น OHCHR

(7) การจัดสรรพื้นที่ทำงานในสำนักงานใหญ่สหประชาชาติ (flexible workplace)

(8) งบประมาณสำหรับ Resident Coordinator System

(9) ระบบปฏิบัติการด้านการบริหารทรัพยากรและ business process หรือที่เรียกว่า “Umoja”

1.3 กรอบระยะเวลาการทำงาน

           คณะกรรมการ 5 จะมีการประชุมตลอดปี โดยแบ่งเป็น 3 ช่วง ดังนี้

           (1) การประชุม main session – ระยะเวลาในการประชุมประมาณ 3 เดือน (ต.ค. – ธ.ค.) ซึ่งเป็นคณะกรรมการที่ปิดการประชุมหลังคณะกรรมการหลักอื่น ๆ เสมอ เนื่องจากประเด็นเกี่ยวกับงบประมาณ และการบริหารงานขององค์กรเป็นประเด็นที่รัฐสมาชิกให้ความสำคัญ และมักใช้เวลาในการต่อรองเจรจาเป็นระยะเวลานาน อีกทั้งรัฐสมาชิกมักประสบได้รับเอกสารและรายงานของ secretariat และ ACABQ ล่าช้ากว่าที่กำหนดเสมอ

           (2) การประชุม 1st resumed session – ประชุมภายหลังการประชุมสมัยหลัก โดยมีระยะเวลาการประชุมประมาณ 2-3 สัปดาห์ ในช่วงเดือน ม.ค. ซึ่งจะพิจารณาระเบียบวาระการประชุมที่ถูกเลื่อนการพิจารณามาจากการประชุม main session หรือการประชุมสมัยก่อน ๆ

           (3) การประชุม 2nd resumed session – ระยะเวลาในการประชุมประมาณ 2 เดือน (พ.ค. – มิ.ย.) โดยจะพิจารณางบประมาณปฏิบัติการรักษาสันติภาพเป็นหลัก รวมถึงประเด็นอื่น ๆ ที่ถูกเลื่อนการพิจารณามาจากการประชุมสมัยก่อน ๆ

1.4 ลักษณะ/รูปแบบการทำงาน

          ในปัจจุบัน ปีงบประมาณของสหประชาชาติเป็นลักษณะรายสองปี (bi-annual budget)จึงเป็นผลให้มีการพิจารณาข้อเสนองบประมาณ (budget year) ทุก 2 ปี และในปีที่ไม่ได้มีการพิจารณาข้อเสนองบประมาณ (off-budget year) ทีประชุมจะพิจารณาเรื่องการบริหารทรัพยากรบุคคลแทน นอกจากนั้น ทุก 3 ปี ยังมีการประชุมเพื่อพิจารณากำหนดอัตราค่าบำรุงงบประมาณปกติ และงบประมาณปฏิบัติการรักษาสันติภาพ (scales year)

            เนื่องจากเลขาธิการสหประชาชาติพยายามผลักดันนโยบายการปฏิรูปการบริหารสหประชาชาติ จนส่งผลให้รัฐสมาชิกรับรองข้อมติเกี่ยวกับการบริหารสหประชาชาติในการประชุม main session ของ UNGA72 ซึ่งระบุให้ปรับงบประมาณสหประชาชาติจากรายสองปีเป็นรายปี (annual budget) ในลักษณะการทดลองใช้ (trial basis) ในปี ค.ศ. 2020 (UNGA75) และให้รัฐสมาชิกพิจารณาอีกครั้งในปี ค.ศ. 2022 (UNGA77) จึงทำให้การทำงานของคณะกรรมการ 5 ในช่วง main session ของ UNGA75 และ UNGA77 จะเป็น budget year ทั้งสองปี

            Formal Meeting (ห้อง CR-3) ที่ประชุมจะนำเสนอ (introduce) ระเบียบวาระการประชุมในแต่ละหัวข้อ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะนำเสนอรายงาน เช่น ฝ่าย secretariat นำเสนอ SG report ผู้แทนAdministrative and Budgetary Committee (ACABQ)นำเสนอรายงานข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ SG report แก่รัฐสมาชิก และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องนำเสนอรายงานการตรวจสอบของตน เช่น Joint Inspection Unit (JIU) นอกจากนั้น ยังมีการกล่าวถ้อยแถลงต่อระเบียบวาระนั้น ๆ ของของรัฐสมาชิกทั้งในนามประเทศ หรือในนามกลุ่ม

            Informal Meeting (ห้อง CR-5) เมื่อการนำเสนอระเบียบวาระ และการกล่าวถ้อยแถลงใน formal meeting เสร็จสิ้นลง ผู้แทนรัฐสมาชิก และผู้แทนของฝ่าย secretariat ที่นำเสนอ SG report และหน่วยงานของสหประชาชาติที่เกี่ยวข้องกับประเด็นนั้น ๆ จะประชุม informal meeting เพื่อเปิดโอกาสให้รัฐสมาชิกซักถามประเด็นข้อสงสัยต่าง ๆ จากฝ่าย secretariat และสามารถขอรับคำตอบ in writing ได้เช่นกัน 

            Informal Consultations (ห้อง CR-5) เมื่อการนำเสนอระเบียบวาระ และการกล่าวถ้อยแถลงใน formal meeting เสร็จสิ้นลง ผู้แทนรัฐสมาชิกและผู้แทนฝ่าย secretariat ที่นำเสนอ SG report และหน่วยงานของสหประชาชาติที่เกี่ยวข้องกับประเด็นนั้น ๆ จะประชุม informal consultations เพื่อเปิดโอกาสให้รัฐสมาชิกซักถามประเด็นข้อสงสัยต่าง ๆ จากฝ่าย secretariat และสามารถขอรับคำตอบ in writing ได้เช่นกัน

            เมื่อเสร็จสิ้นการซักถามจนเป็นที่พอใจของรัฐสมาชิก และฝ่าย secretariat ได้ส่งคำตอบ in writing แก่รัฐสมาชิกครบถ้วนแล้ว facilitator และฝ่าย secretariat ของคณะกรรมการ 5 จะแจกโครงร่างข้อมติของระเบียบวาระนั้น (skeletal resolution) และกำหนดวันส่งถ้อยคำ (language deadline) ของร่างข้อมติเพื่อให้รัฐสมาชิก/กลุ่มต่าง ๆ เสนอถ้อยคำเพื่อเจรจาร่างข้อมติต่อไป ในกรณีเร่งด่วน ฝ่าย secretariat ของคณะกรรมการ 5 จะแจก skeletal resolution ก่อนได้รับคำตอบ in-writing

1.5 กระบวนการขั้นตอนการนำเสนอและพิจารณาร่างข้อมติ

           (1) ประเทศ/กลุ่มประเทศเสนอถ้อยคำของร่างข้อมติและส่งให้ฝ่าย secretariat ของคณะกรรมการ 5 ตามที่กำหนด ซึ่งฝ่าย secretariat ของคณะกรรมการ 5 จะเวียนร่างข้อมติที่ทุกประเทศ/กลุ่มประเทศเสนอ และนัดวันเจรจาข้อมติใน informal meeting ต่อไป

           (2) เมื่อเจรจาร่างข้อมติเสร็จสิ้นแล้ว ร่างข้อมติดังกล่าวจะเข้าสู่การประชุมเต็มคณะ (plenary) ของคณะกรรมการ 5 เพื่อรับรองโดยฉันทามติ หรือการลงคะแนนเสียง (แล้วแต่กรณี)

           (3) ร่างข้อมติเข้าสู่การประชุมเต็มคณะของ UNGA เพื่อรับรอง

 

2. ผู้เล่นสำคัญ

กลุ่ม 77 และจีน ซึ่งอียิปต์เป็นประธานในปีนี้ (ไทยเป็นสมาชิก)

          กลุ่ม 77 เป็นกลุ่มที่มีขนาดใหญ่และมีสมาชิกจำนวนมาก ซึ่งมีข้อดี คือ กลุ่มมีบทบาท และสามารถต่อรอง/เจรจา/กดดัน  partners ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เแต่ข้อเสีย คือ จำนวนของสมาชิกทำให้กลุ่มมี consensus ของกลุ่มยาก โดยเฉพาะบางประเด็นที่มีความละเอียดอ่อน หรือรัฐสมาชิกมีผลประโยชน์ต่างกัน เช่น UN management reform และ GSDM ซึ่งใช้เวลาในการถกเถียงหารือภายในกลุ่มเป็นระยะเวลานานเพื่อให้มี consensus

          โดยปกติ ทุกระเบียบวาระในคณะกรรมการ 5 จะเป็นการเจรจาในนามกลุ่ม 77 ยกเว้น 2 ประเด็น ได้แก่ (1) การปรับโครงสร้างของสำนักงาน OHCHR เนื่องจากรัฐสมาชิกมีท่าทีที่แตกต่างกันมากจนอาจเกิดผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของกลุ่ม และขาดเอกภาพ และ (2) งบประมาณ Special Political Missions (SPMs) ซึ่งตามแนวปฏิบัติที่ผ่านมา จะไม่เจรจาในนามกลุ่มเนื่องจากเป็นประเด็นทางการเมือง และมีลักษณะรายประเทศ

          ในช่วงแรกของการประชุม กลุ่ม 77 มักจะเปิดให้สมาชิกกลุ่มลงชื่อเป็น coordinator เพื่อเป็นตัวแทนของกลุ่มในการเจรจาระเบียบวาระต่าง ๆ โดยไม่ได้จำกัดจำนวน coordinator และไม่จำกัดจำนวนวาระที่ประสงค์เป็น coordinator ซึ่งตำแหน่งดังกล่าวมีความสำคัญเพราะต้องร่วมหารือระหว่าง coordinator ในกลุ่ม เพื่อเสนอถ้อยคำของร่างข้อมติ และเจรจาในนามกลุ่ม ซึ่งจะทำให้ coordinator รู้ dynamics ต่าง ๆ แบบ in-depth และสามารถผลักดันผลประโยชน์ที่ต้องการได้ โดยเหตุนี้สมาชิกกลุ่ม 77 จึงมักเสนอตัวเป็น coordinator ในระเบียบวาระที่ประเทศตนให้ความสำคัญ หรือมีผลประโยชน์ ซึ่งที่ผ่านมา ไทย เสนอตัวเป็น coordinator ในระเบียบวาระเรื่อง GSDM UN Management Reform และโครงการก่อสร้าง/ปรับปรุงอาคารของ ESCAP ทั้งนี้ ในระเบียบวาระที่ไทยไม่ได้เสนอตัวเป็น coordinator แต่มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับไทยหรือต้องการผลักดันก็ต้องแจ้งให้ coordinator ของกลุ่มทราบ และให้ช่วยผลักดันได้เช่นกัน

          China factor เป็นตัวแปรสำคัญในการกำหนดเอกภาพของกลุ่ม ซึ่งหากเป็นประเด็นที่จีนสนับสนุน กลุ่มก็สามารถเจรจาต่อรองกับ partners ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ในประเด็นที่จีนเห็นต่างก็เป็นอุปสรรคสำคัญทำให้การเจรจา/ต่อรองกับ partners ยากขึ้น ซึ่งหากกลุ่มอยู่ในภาวะที่ประธานกลุ่มอ่อนแอ จีนจะพยายามกำหนดยุทธวิธีของกลุ่มในการเจรจาในระเบียบวาระต่าง ๆ ซึ่งในหลายครั้งก็มิได้คำนึงถึงประโยชน์ของกลุ่มโดยรวม

          สิงคโปร์ เป็นประเทศที่มีบทบาทสูงในคณะกรรมการ 5 เนื่องจากเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานมีความชำนาญเกี่ยวกับประเด็น อีกทั้งประเด็นที่เกี่ยวข้องกับงบประมาณเป็นประเด็นที่รัฐบาลสิงคโปร์ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่งจะเห็นได้ว่าสิงคโปร์จะเสนอตัวเป็น coordinator เกือบทุกระเบียบวาระของการประชุมเพื่อจะได้รู้ dynamics และมีบทบาทในการเจรจาเพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศตน ทั้งนี้ ผลประโยชน์ส่วนใหญ่ของสิงคโปร์เป็นไปในทิศทางเดียวกับท่าทีของอาเซียน และไทย จึงทำให้กลุ่มอาเซียนเป็นอีก regional group ภายในกลุ่ม 77 ที่มีเอกภาพ และสามารถเจรจาต่อรองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          กลุ่ม 77 จะประชุมกลุ่มทุกบ่ายวันพุธที่ห้อง CR-5 เพื่อประสานท่าทีและแจ้งพัฒนาการและข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องต่าง ๆ ให้สมาชิกรับทราบและขอแนวทางในการดำเนินการ

คู่เจรจา (partners)

รัฐสมาชิก หรือกลุ่ม ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกของกลุ่ม 77 อาทิ  EU CANZ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ รัสเซีย และเม็กซิโก

          รัสเซียเป็น partner ที่เป็นพันธมิตรของกลุ่ม 77 และมักมีท่าทีที่สอดคล้องกับกลุ่ม ในขณะที่ EU CANZ สหรัฐฯ และ ญี่ปุ่น มักมีท่าทีที่ขัดแย้งกับกลุ่ม เนื่องจากพยายามผลักดันการตัดงบประมาณในส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา เพื่อลดภาระการชำระค่าบำรุงงบประมาณสหประชาชาติ ซึ่ง partners กลุ่มนี้ชำระค่าบำรุงในอัตราที่สูงกว่ารัฐสมาชิกอื่น ๆ

 

3. ผลประโยชน์ของไทย

          3.1 การปฏิรูปสหประชาชาติ ติดตามประเด็นเกี่ยวกับการปฏิรูปอย่างใกล้ชิด เนื่องจากไทยมีท่าทีที่แข็งขันในประเด็นนี้มาโดยตลอด ทั้งในกิจกรรม High-level event on UN reform และในกรอบการประชุมคณะกรรมการ 5 รวมทั้งควรผลักดันให้การปฏิรูปการบริหารสะท้อนผลประโยชน์ของไทยและประเทศกำลังพัฒนาอย่างแท้จริง

          3.2 GSDM ติดตามพัฒนาการเลือกประเทศเพื่อจัดตั้งศูนย์ GSDM เนื่องจากมีผลกระทบต่อไทยทั้งในระยะสั้นและระยะยาวหากไม่มีศูนย์ดังกล่าวในไทยและในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

          ผลกระทบระยะสั้น หากมีการจัดตั้งศูนย์ GSDM ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในประเทศอื่นจะส่งผลให้เกิดการยกเลิกตำแหน่งเจ้าหน้าที่ General Service ในไทย (ส่วนใหญ่เป็นคนไทย) เป็นจำนวนมากเพื่อนำไปเพิ่มอัตราเจ้าหน้าที่ที่ศูนย์ GSDM
          ผลกระทบระยะยาว หากมีการจัดตั้งศูนย์ GSDM ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนอกภูมิภาคจะมีผลกระทบในทางปฏิบัติ โดยเฉพาะความแตกต่างของเวลา จะส่งผลให้ขาดการให้บริการอย่างทั่วถึง และกระทบการอนุวัติ SDGs (ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีบทบาท และโครงการจำนวนมากที่เกี่ยวข้องกับการอนุวัติ SDGs) รวมถึงขาด UN presence ในภูมิภาค

          3.3 โครงการปรับปรุงซ่อมแซมอาคาร ESCAP เนื่องจากโครงการฯ มีกำหนดระยะเวลาการดำเนินการเป็นเวลา 6 ปี เริ่มตั้งแต่ปี 2560 ซึ่ง UNSG จะต้องเสนอรายงานความก้าวหน้าของโครงการฯ ต่อที่ประชุมคณะกรรมการ 5 ในสมัยหลักในทุกปี ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบโครงการฯ ดังนั้น ไทยในฐานะประเทศเจ้าบ้านจึงควรติดตามพัฒนาการในเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการติดตามการดำเนินโครงการให้มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับกรอบเวลาและคุ้มค่าต่องบประมาณและสะท้อนบทบาทสร้างสรรค์ในฐานะประเทศเจ้าบ้านในการดำเนินโครงการและการเจรจาในกรอบคณะกรรมการ 5 ในอนาคต

         3.4 อัตราค่าบำรุงงบประมาณปกติและงบประมาณปฏิบัติการรักษาสันติภาพ ที่ผ่านมาไทยชำระเงินบำรุงสหประชาชาติอย่างครบถ้วนมาโดยตลอด ทั้งนี้ ไทยควรติดตามพัฒนาการในประเด็นนี้อย่างใกล้ชิดเนื่องจากจะมีผลกระทบต่อจำนวนเงินอุดหนุนที่ไทยมีพันธกรณีต้องชำระให้สหประชาชาติ

         3.5 ข้อเสนอปรับโครงสร้างสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชน ระเบียบวาระที่ถูกเลื่อนการพิจารณามาหลายสมัย ซึ่งในฐานะที่ไทยเป็นหนึ่งในที่ตั้งของสำนักงานภูมิภาคขององค์กรนี้ จึงควรติดตามพัฒนาการในเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะกับฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยและมีท่าทีแข็งกร้าว ซึ่งประเด็นที่เป็นที่ถกเถียง และท่าทีที่แตกต่างกัน

 

4. บทบาทสำคัญของไทย

           ที่ผ่านมา ไทยมีภาพลักษณ์ที่ดีในกลุ่ม 77 ของคณะกรรมการ 5 มาโดยตลอด ซึ่งกลุ่มต่างชื่นชมบทบาทไทยในการเป็นประธานกลุ่ม 77 ในการประชุม UNGA71 ซึ่งแสดงภาวะผู้นำกลุ่มอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการประสานท่าทีภายในกลุ่ม รวมถึงเจรจาต่อรองกับ partners อย่างแข็งขันจนบรรลุการเจรจาหลายข้อมติที่เป็นประโยชน์ของกลุ่ม และในการประชุมปีต่อมา แม้ว่าไทยจะไม่ได้เป็นประธานกลุ่ม แต่ยังทำหน้าที่ในฐานะสมาชิกกลุ่ม และ coordinator ในบางระเบียบวาระอย่างแข็งขัน และเจรจาหลายข้อมติเป็นผลสำเร็จจนได้รับคำชื่นชมและความไว้วางใจจากกลุ่ม

           ไทยเป็น coordinator ของกลุ่ม 77 ในระเบียบวาระเรื่องการปฏิรูปการบริหารสหประชาชาติ GSDM และโครงการก่อสร้างปรับปรุงอาคารของกลุ่ม 77 (ESCAP UNON ECA ECLAC)

 

5. ร่างข้อมติสำคัญ (แยกตาม cluster หรือหมวดหมู่)

ร่างข้อมติที่เกี่ยวข้องกับข้อ 1.2

 

6. ข้อควรระมัดระวัง เช่น ประเด็นอ่อนไหว

การรักษาเอกภาพของกลุ่ม และผลประโยชน์รวมของกลุ่ม

          พลวัตและกลยุทธ์การเจรจาในคณะกรรมการ 5 ของกลุ่มจะมีลักษณะพิเศษกว่าคณะกรรมการอื่น คือเป็นการพิจารณาภาพรวมของทุกระเบียบวาระเพื่อประเมิณเชื่อมโยงหลายระเบียบวาระเข้าด้วยกันจนถึงช่วงใกล้ปิดการประชุมเพื่อพิจารณาประเด็นต่าง ๆ ร่วมกัน (package deal) และต่อรองให้เกิดประโยชน์สูงสุด (bargain and trade-off)) โดยประเด็นที่กลุ่มมักใช้ในการต่อรองเนื่องจาก partners ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ได้แก่ การปฏิรูปการบริหารสหประชาชาติ UMOJA และ flexible workplace

           เมื่อคู่เจรจานอกกลุ่มมาทาบทาม หรือ lobby ให้ไทยช่วยเจรจากับประเทศในกลุ่ม เพื่อแลกกับผลประโยชน์ของไทย หรือยื่นข้อเสนอที่เป็นประโยชน์ต่อไทย ไทยควรพิจารณาอย่างถี่ถ้วนและรอบคอบก่อนตัดสินใจโดยต้องคำนึงว่าผลประโยชน์ดังกล่าวกระทบต่อกลุ่มในภาพรวมหรือไม่ และการรับปากหรือตัดสินใจนั้น ๆ ได้รับมติจากกลุ่มในการดำเนินการแล้วหรือไม่ ทั้งนี้ มีกรณีศึกษาในการประชุม UNGA72 ช่วง main session ซึ่งเกิดปัญหาการขาดเอกภาพของกลุ่มในการเจรจาโครงการก่อสร้าง/ปรับปรุงอาคารต่าง ๆ ซึ่งคาดว่า มีรัฐสมาชิกบางประเทศในกลุ่ม/regional group ในกลุ่มได้ยื่นข้อเสนอบางประการแก่ partners ซึ่งไม่ใช่มติของกลุ่ม ทำให้เกิดความสับสนและลดอำนาจต่อรองของกลุ่มกับคู่เจรจา

การมีท่าทีแตกต่างจากกลุ่ม

          ต้องเป็นประเด็นที่ไทยมีนโยบายชัดเจน และเป็นประโยชน์ของไทยจริง ๆ เนื่องจากการมีท่าทีที่แตกต่างกับท่าทีกลุ่มนั้นมีผลต่อภาพลักษณ์ประเทศ และมี “ราคาทางการเมือง” สูง 

ความล่าช้าของเอกสาร

          ความล่าช้าของเอกสารจากฝ่าย secretariat ยังคงเป็นประเด็นปัญหาสืบเนื่องของ คณะกรรมการ 5 ซึ่งทำให้ ACABQ และรัฐสมาชิกมีเวลาจำกัดในการศึกษาและพิจารณาจัดเตรียมท่าที นอกจากนั้น ยังมีหลายระเบียบวาระสำคัญที่มักเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการ 5 ในช่วงเวลากระชั้นชิดก่อนปิดสมัยประชุมซึ่งทำให้รัฐสมาชิกประสบความลำบากทั้งช่วงเวลาในการศึกษารายละเอียดของรายงานและช่วงเวลาที่ได้รับการจัดสรรเวลาสำหรับการถาม-ตอบ เพื่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติมจากฝ่าย secretariat และการเจรจาด้วย

ถ้อยคำที่ใช้ในการร่างมติ 

          การร่างมติของคณะกรรมการ 5 จะแตกต่างจากคณะกรรมการอื่น เนื่องจากต้องอ้างถึงข้อเสนอแนะในรายงานของ ACABQ เสมอ โดยหากไม่เห็นพ้องกับรายงานของ ACABQ จะใช้คำว่า “take note” เช่น take note of paragraph 5 of ACABQ and decidesto ….. แต่หากเห็นพ้องกับข้อเสนอของ ACABQ จะใช้คำว่า “recall” เช่น “recalls paragraph of ACABQ and approves….” 

 

7. กรม/กอง ที่รับผิดชอบประเด็นในคณะกรรมการ/หน่วยงานไทยที่เกี่ยวข้อง

กองงานบริหารองค์การระหว่างประเทศ กรมองค์การระหว่างประเทศ

 

8. ข้อมูลอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับฝ่าย secretariat ของคณะกรรมการ (หากมี)

           8.1 http://www.un.org/en/ga/fifth/index.shtml - เว็บไซต์ของคณะกรรมการ 5 ซึ่งมีลิงค์ไปที่ข้อมูลเอกสาร (documents) bureau และฝ่ายเลขานุการการประชุม รวมถึงข่าวสารนิเทศสรุปผลการประชุม (press releases) และร่างข้อมติ รายงาน และถ้อยแถลงที่ผ่านมา

           8.2 https://eroom.un.org/ เป็น portal ของคณะกรรมการ 5 ที่จะมีการอัพโหลดร่างมติ รวมทั้งรายงานของ UNSG และ ACABQ ในวาระต่าง ๆ (username : tha.pm  password: ab.9116700)

           8.3 http://hrinsight.un.org – เป็น portal ที่มีข้อมูลของจำนวนเจ้าหน้าที่ไทยระดับต่าง ๆ ที่ทำงานกับสหประชาชาติ รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรบุคคลของสำนักงานต่าง ๆ ของสหประชาชาติในไทย (User ID: [email protected]  password: LUEN3957)

           8.4 กลุ่ม whatsapp ของเจ้าหน้าที่คณะกรรมการ 5 ของอาเซียน (ให้เจ้าหน้าที่ คผถ. เชิญเข้ากลุ่ม) – เป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสาร ประสานงาน และแลกเปลี่ยนข้อมูลระวห่างกันของเจ้าหน้าที่คณะกรรมการ 5 ของกลุ่มอาเซียน

           8.5 ลงชื่อใน mailing list ของกลุ่ม 77 และใน mailing list ของ facilitator ของแต่ละระเบียบวาระ เพื่อเป็นช่องทางสื่อสารและรับทราบถึงข้อมูลพัฒนาการต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด

 

 


สหประชาชาติเคยใช้ระบบงบประมาณรายปีในช่วงปี ค.ศ. 1974-2003 และในปี ค.ศ. 2004 ได้เปลี่ยนมาใช้กรอบยุทธศาสตร์ งปม. แบบรายสองปี เพื่อให้สะท้อนพันธกิจระยะยาวขององค์กรฯ

เป็นกลไกที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ แก่รัฐสมาชิกในคณะกรรมการ 5 โดย ACABQ จะศึกษาและพิจารณารายงานของ UNSG และจัดทำรายงานข้อเสนอแนะแก่คณะกรรมการเพื่อพิจารณาต่อไป