ที่ประชุมเต็มคณะ

ที่ประชุมเต็มคณะ

วันที่นำเข้าข้อมูล 23 ม.ค. 2562

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565

| 2,773 view

1. ข้อมูลเกี่ยวกับการประชุมเต็มคณะ (Plenary)

1.1 หน้าที่/ความรับผิดชอบ

           ดูงานภาพรวมของสมัชชาฯ ซึ่งรวมถึงงานบริหาร (administrative) เช่น การเลือกตั้งในกรอบต่าง ๆ การติดตามผลการประชุมสำคัญของ UN อาทิ Millennium Summit การฟื้นฟูการทำงานของ GA (revitalization) การรับรองรายงานขององค์กรต่าง ๆ ภายใต้ UN อาทิ ECOSOC และ HRC เป็นต้น

           รับผิดชอบข้อมติที่ไม่เข้าคณะกรรมการอื่น ๆ โดยส่วนใหญ่เป็นข้อมติที่มีเนื้อหาในประเด็นกว้างและเป็นข้อห่วงกังวลของประชาคมโลก เช่น Status of Jerusalem / Ending Embargo on Cuba / Palestine / Afghanistan / Rwanda

1.2 ประเด็นสำคัญใน Plenary

           สามลำดับแรก ได้แก่ 2) ความขัดแย้งในตะวันออกกลาง 2) วัฒนธรรมสันติภาพ (มีมากถึง 6 ข้อมติ ภายใต้ระเบียบวาระวัฒนธรรมสันติภาพ (Culture of Peace) ใน UNGA72) และ 3) การมอบความช่วยเหลือทางมนุษยธรรม

1.3 กรอบระยะเวลาการทำงาน

UNGA72 Plenary จัดขึ้นระหว่างวันที่ 12 ก.ย. – 22 ธ.ค. 2561 รวมระยะเวลาประมาณ 3 เดือน

1.4 ลักษณะ/รูปแบบการทำงาน

           ในช่วงสัปดาห์แรกของการประชุม UNGA ของทุกปี จะมีการจัด General Debate ใน General Assembly Hall (GA Hall) ซึ่งเป็นการกล่าวถ้อยแถลงโดย head of state/head of government หรือผู้แทนระดับอื่น ๆ จากรัฐสมาชิกทุกประเทศ และผู้สังเกตการณ์ (observers) ในประเด็นที่เป็น priority ของประเทศและที่ประสงค์ให้ UN ผลักดัน/ให้ความสำคัญ

           ประธานสมัชชาฯ (President of the General Assembly: PGA) จะเป็นประธานการประชุม Plenary ทุกครั้ง (เว้นแต่หากติดภารกิจสำคัญ) ใน GA Hall

            การเจรจาและรับรองข้อมติ (ลักษณะเดียวกับ คกก. อื่น ๆ) เริ่มจาก (1) informal consultations – การประชุมกลุ่มย่อย เพื่อเจรจา text ของร่างข้อมติ ว่าประเทศไหนต้องการปรับเปลี่ยนถ้อยคำส่วนไหนของร่างข้อมติเพื่อให้สอดคล้องกับท่าทีของประเทศตัวเอง (2) joint debate – การกล่าวถ้อยแถลงภายใต้ระเบียบวาระของข้อมตินั้น ๆ โดยผู้แทนของแต่ละประเทศ (ระดับใดก็ได้ ตั้งแต่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการจนถึง ออท. จนถึงผู้แทนระดับสูงจากรัฐบาล) ซึ่งแต่ละประเทศจะพิจารณาว่าจะกล่าวถ้อยแถลงภายใต้ระเบียบวาระใดบ้าง เพื่อให้สะท้อน priority ของประเทศ (3) การรับรองข้อมติ – ส่วนใหญ่จะมีขึ้นภายหลัง joint debate กล่าวคือ เมื่อทุกประเทศได้กล่าวถ้อยแถลงภายใต้ระเบียบวาระนั้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว PGA จะประกาศว่าจะมีการรับรองข้อมติ ซึ่งเกิดขึ้นใน 2 รูปแบบ ได้แก่ โดยฉันทามติ (consensus) หรือโดยการลงคะแนนเสียง (vote) 

            ช่วงสัปดาห์ท้าย ๆ ของ Plenary จะเป็นการรับรองข้อมติของ คกก. อื่น ๆ

1.5 กระบวนการขั้นตอนการนำเสนอและพิจารณาร่างข้อมติ

           ร่างข้อมติได้รับการเสนอโดยประเทศ หรือกลุ่มประเทศ (อาทิ OIC) > ร่างข้อมติได้รับการบรรจุลง Agenda ของ Plenary > ฝ่ายเลขานุการของ Plenary เวียนร่างข้อมติ > หากเป็นข้อมติที่มีนัยสำคัญ ประเทศผู้เสนอร่างข้อมติจะจัด informal consultations เพื่อเจรจา text ให้เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย (อาจหารือแค่ 1 ครั้ง หรือหลายครั้ง) > ประเทศต่าง ๆ สามารถ subscribe ผู้แทนเพื่อกล่าวถ้อยแถลงภายใต้ระเบียบวาระดังกล่าว (ลำดับของการกล่าวจัดตาม first come first serve ตอน subscribe) > ในวันรับรองข้อมติใน plenary จะมีการกล่าวถ้อยแถลงก่อน (joint debate) แล้วจึงเป็นการพิจารณารับรองข้อมติ (โดยฉันทามติหรือ vote) 

 

2. ผู้เล่นสำคัญ

2.1 ประเทศหรือกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญ

สหรัฐฯ EU จีน รัสเซีย สิงคโปร์

2.2 ประเทศหรือกลุ่มที่เป็นพันธมิตรกับไทย

ASEAN / G77

2.3 ประเทศหรือกลุ่มที่มีท่าทีขัดแย้งกับผลประโยชน์ของไทย

      สหรัฐฯ และอิสราเอล

           * ใน UNGA72 สหรัฐฯ มีท่าทีขัดแย้งกับรัฐสมาชิกส่วนใหญ่ในหลายเรื่อง เช่น การยุติ embargo ของสหรัฐฯ ต่อคิวบา และการรับรองเยรูซาเล็มเป็นเมืองหลวงของอิสราเอล (ข้อมติเรื่อง “Status of Jerusalem”) เป็นต้น โดยในปีก่อน ๆ สหรัฐฯ เลือกที่จะโหวต abstain เรื่องคิวบา ซึ่งถือเป็นพัฒนาการสำคัญ แต่ใน UNGA72 สหรัฐฯ ถอยกลับไปโหวต No 

 

3. ผลประโยชน์ของไทย

          การคงท่าทีชัดเจนในประเด็นที่เป็นข้อถกเถียง/ข้อห่วงกังวลของรัฐสมาชิก เช่น การรับรองเยรูซาเล็มเป็นเมืองหลวงของอิสราเอล การสนับสนุนปาเลสไตน์ การต่อต้านการใช้อาวุธนิวเคลียร์

          การสนับสนุนการมอบความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมให้แก่ประเทศที่ประสบความขัดแย้งทางการเมือง สงคราม และภัยพิบัติทางธรรมชาติ (ไทยมอบความช่วยเหลือทั้งในรูปแบบของความช่วยเหลือทางการเงินและวิชาการ)

          เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างภูมิภาค ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาแอฟริกา (ไทยช่วยเหลือทางวิชาการ ความรู้ด้านการแพทย์ การเงิน)

 

4. บทบาทสำคัญของไทย

          ผู้แทนไทยกล่าวถ้อยแถลงใน Plenary ใน 6 ระเบียบวาระ ได้แก่

          (1) New Partnership for Africa’s Development: progress in implementation and international support (ระเบียบวาระที่ 66) เมื่อ 20 ตุลาคม 2560

          (2) 2001 – 2010: Decade to Roll Back Malaria in Developing Countries, Particularly in Africa (ระเบียบวาระที่ 13) เมื่อ 20 ตุลาคม 2560

          (3) Report of the International Court of Justice (ระเบียบวาระที่ 74) เมื่อ 26 ตุลาคม 2560

          (4) Question of equitable representation on and increase in the membership of the Security Council and other matters related to the Security Council (ระเบียบวาระที่ 122) เมื่อ 7 พฤศจิกายน 2560

          (5) Strengthening of the coordination of humanitarian and disaster relief assistance of the United Nations, including special economic assistance (ระเบียบวาระที่ 73) เมื่อ 8 ธันวาคม 2560

          (6) Global health and foreign policy (ระเบียบวาระที่ 127) เมื่อ 12 ธันวาคม 2560

          ไทยเป็นประธานกลุ่ม Foreign Policy and Global Health Initiative (FPGH) โดยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม informal consultations เพื่อเจรจาร่างข้อมติภายใต้ระเบียบวาระ Global Health and Foreign Policy ซึ่งไทยได้ร่างเองจำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ (1) เรื่อง International Universal Health Coverage Day และ (2) เรื่อง Global health and foreign policy: Addressing the Health of the Most Vulnerable for an Inclusive Society

          ที่ประชุมเต็มคณะได้รับรองร่างข้อมติโดยตรงทั้งหมด 32 ฉบับ โดยเป็นการรับรองโดยฉันทามติรวม
21 ฉบับ และโดยการลงคะแนนเสียงรวม 11 ฉบับ ซึ่งไทยลงคะแนนเสียงสนับสนุนร่างข้อมติทุกฉบับ

           ไทยร่วมอุปถัมภ์ร่างข้อมติทั้งหมด 18 ฉบับ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการคงท่าทีเดิม โดยมีร่างข้อมติ 6 ฉบับที่ไทยร่วมอุปถัมภ์เป็นครั้งแรกในปีนี้

 

5. ร่างข้อมติสำคัญ (แยกตาม cluster หรือหมวดหมู่)

          “Status of Jerusalem”
          “The Situation in the Middle East”
          “The Question of Palestine”
          “Necessity of ending the economic, commercial and financial embargo imposed by the United States of America against Cuba”

 

6. ข้อควรระมัดระวัง เช่น ประเด็นอ่อนไหว

ทุกข้อมติตามที่ระบุในข้อ 5

 

7. กรม/กอง ที่รับผิดชอบประเด็นในคณะกรรมการ/หน่วยงานไทยที่เกี่ยวข้อง

          กองงานบริหารองค์การระหว่างประเทศ กรมองค์การระหว่างประเทศ (*เกี่ยวข้องมากสุด)

          กองสันติภาพ ความมั่นคงและการลดอาวุธ กรมองค์การระหว่างประเทศ

          กองการสังคม กรมองค์การระหว่างประเทศ

          กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา (ประเด็นปาเลสไตน์/ตะวันออกกลาง – ทุกปีรัฐบาลไทยจะมีสารแสดงความยินดีจาก นรม. เนื่องในโอกาส International Day of Solidarity with the Palestinian People ซึ่งต้องเตรียมการล่วงหน้าเพื่อให้ทันเวลา)

 

8. ข้อมูลอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับฝ่าย secretariat ของคณะกรรมการ (หากมี)

          8.1 http://www.un.org/en/ga/72/resolutions.shtml ตารางรายละเอียดข้อมติทั้งหมดที่ได้รับการรับรองทั้งใน Plenary และคณะกรรมการอื่น ๆ ใน UNGA72 (ไม่มี portal เฉพาะสำหรับ Plenary)

          8.2 https://delegate.un.int e-deleGATE Portal เป็นระบบออนไลน์สำหรับเจ้าหน้าที่ คผถ. สามารถใช้ลงทะเบียน speaker และโหลดเอกสารสำคัญต่างๆ เช่น กำหนดการประชุม และร่างข้อมติ โดยฝ่ายเลขานุการจะแจกรหัสสำหรับเข้าเมื่อการประชุมเริ่มต้นขึ้น

          8.3 http://papersmart.unmeetings.org สำหรับค้นหา statement ทั้งหมด หากประสงค์จะอัพโหลด Statement บนเว็บไซต์ สามารถส่งอีเมลพร้อมไฟล์ไปที่ [email protected]

          8.4 [email protected] email Plenary Secretariat (Mr. Rene Holbach)