คณะกรรมการ 1 (การลดอาวุธและความมั่นคงระหว่างประเทศ)

คณะกรรมการ 1 (การลดอาวุธและความมั่นคงระหว่างประเทศ)

วันที่นำเข้าข้อมูล 23 ม.ค. 2562

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 27 พ.ย. 2565

| 3,259 view

1. ข้อมูลเกี่ยวกับคณะกรรมการ 1

1.1 หน้าที่/ความรับผิดชอบ 

          คณะกรรมการ 1 ดูแลเรื่องการลดอาวุธในกรอบสหประชาชาติเป็นหลัก โดยมีประเด็นรองเกี่ยวกับความมั่นคงระหว่างประเทศ อาทิ cyber security

1.2 ประเด็นสำคัญในกรอบคณะกรรมการ

          สามลำดับแรก ได้แก่ ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ (1) การลดอาวุธนิวเคลียร์ (2) การลดอาวุธเคมี และ (3) การลดอาวุธในอวกาศส่วนนอก ตามลำดับ

1.3 กรอบระยะเวลาการทำงาน

          คณะกรรมการ 1 เริ่มและสิ้นสุดการดำเนินงานก่อนคณะกรรมการอื่น ๆ รวมระยะเวลาดำเนินงาน  ประมาณ 2 เดือน          (ปลาย ก.ย. – ปลาย ต.ค.)

1.4 ลักษณะ/รูปแบบการทำงาน

          คณะกรรมการ 1 ดำเนิน 2 กิจกรรมหลัก ได้แก่ (1) การประชุมเต็มคณะ (plenary) โดยแบ่งการประชุมเป็นการบรรยายโดยผู้เชี่ยวชาญ และถ้อยแถลงจากประเทศและองค์กรต่าง ๆ ตาม Cluster ทั้ง 7 ได้แก่ อาวุธนิวเคลียร์ / WMDs อื่น ๆ / อาวุธตามแบบ / อวกาศส่วนนอก / ความมั่นคง รปท. / กลไกการลดอาวุธ และการลดอาวุธและความมั่นคงในระดับภูมิภาค และ (2) Informal consultations ซึ่งเป็นการประชุมกลุ่มย่อย มักจัดขั้นในช่วงที่การประชุม plenary ไม่มีการประชุม อาทิ ช่วงหยุดพักเที่ยง โดยจะเป็นการหารือเกี่ยวกับร่างข้อมติต่างๆ ที่มีพัฒนาการสำคัญ หรือมีความ controversial มักจะ moderate โดยประเทศผู้เสนอร่างข้อมตินั้น ๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ text ให้เป็นที่ยอมรับโดยทุกฝ่ายก่อนเสนอในที่ประชุม plenary เพื่อรับรองต่อไป

1.5 กระบวนการขั้นตอนการนำเสนอและพิจารณาร่างข้อมติ

          ร่างข้อมติได้รับการเสนอโดยประเทศหรือกลุ่มประเทศ (อาทิ NAM) > ร่างข้อมติได้รับการบรรจุลง Agenda ของ คกก. 1 > ฝ่ายเลขานุการของ คกก. เวียนร่างข้อมติ > หากเป็นข้อมติที่มีนัยสำคัญ ประเทศผู้เสนอร่างข้อมติจะจัด informal consultations เพื่อเจรจา text ให้เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย (อาจหารือแค่ 1 ครั้ง หรือหลายครั้ง) > ร่างข้อมติ เข้าสู่ plenary ของ คกก. เพื่อรับรอง (อาจรับโดยฉันทามติหรือ vote) > ร่างข้อมติเข้าสู่ plenary ใหญ่ GA เพื่อรับรองต่อไป

 

2. ผู้เล่นสำคัญ

2.1 ประเทศหรือกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญ

           Major powers + Nuclear Weapons State (NWS) + Nuclear Umbrella States (NUS) (สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา รัสเซีย จีน อินเดีย ปากีสถาน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เยอรมัน ฯลฯ) VS. the rest (NAM และประเทศที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียชัดเจน ซึ่งรวมถึงไทย)

2.2 ประเทศหรือกลุ่มที่เป็นพันธมิตรกับไทย

          ASEAN ออสเตรีย บราซิล เม็กซิโก คิวบากัวเตมาลา ไอร์แลนด์ แอลจีเรีย อียิปต์ จาเมกา เป็นต้น

2.3 ประเทศหรือกลุ่มที่มีท่าทีขัดแย้งกับผลประโยชน์ของไทย

          NWS และ NUS

 

3. ผลประโยชน์ของไทย

          ประเด็นและผลประโยชน์ที่ไทยให้ความสำคัญในคณะกรรมการ 1 มีทั้งสิ้น 5 ประเด็น ได้แก่ (1) การผลักดันให้การลดอาวุธ โดยเฉพาะอาวุธนิวเคลียร์ (ในฐานะที่ไทยเป็นตัวตั้งตัวตีของ TPNW) ผ่านความชะงักงัน (2) การต่อต้านการใช้อาวุธเคมีและชีวภาพในทุกกรณี และสนับสนุนการปฏิบัติตามพันธกรณีของอนุสัญญาฯ และองค์กรที่เกี่ยวข้อง อาทิ OPCW (3) การป้องกันไม่ให้อาวุธตกไปอยู่ในมือ non-state actors ซึ่งรวมถึงกลุ่มก่อการร้าย (4) สนับสนุนความเชื่อมโยงระหว่างการลดอาวุธ สันติภาพและความมั่นคง กับ SDGs และบทบาทสตรี และ (5) สนับสนุนช่วยเหลือด้านการลดอาวุธให้แก่ประเทศที่มีความต้องการ โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา

 

4. บทบาทสำคัญของไทย

          ไทยกล่าวถ้อยแถลง รวม 5 ถ้อยแถลง แบ่งเป็น ในการอภิปรายทั่วไป 2 ถ้อยแถลง คือ (1) ถ้อยแถลงร่วมของอาเซียน และ (2) ถ้อยแถลงในนามไทย และในการอภิปรายรายหัวข้อ 3 ถ้อยแถลง ได้แก่ (1) ถ้อยแถลงในหัวข้ออาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงอื่น ๆ (2) ถ้อยแถลงร่วมของอาเซียนและของไทยในหัวข้ออาวุธตามแบบ และ (3) ถ้อยแถลงในหัวข้ออาวุธนิวเคลียร์

          ไทยมิได้เสนอร่างข้อมติในคณะกรรมการ 1/UNGA72 แต่มีผู้แทนไทยเข้าร่วมการเจรจาทุกร่างข้อมติ

          ไทยยึดท่าทีเดิมในการร่วมฉันทามติ/ลงคะแนนเสียงสนับสนุนร่างข้อมติและร่างการตัดสินใจทั้งหมด ยกเว้นการเปลี่ยนท่าทีจากสนับสนุนเป็นงดลงคะแนนเสียงต่อ OP20-21 ของร่างข้อมติ “United action with renewed determination towards the total elimination of nuclear weapons”

          ไทยยึดท่าทีเดิมในการร่วมอุปถัมภ์ร่างข้อมติ รวม 26 ฉบับ ในฐานะสมาชิกกลุ่ม 7 NAM ฉบับ และในนามประเทศ 19 ฉบับ

 

5. ร่างข้อมติสำคัญ (แยกตาม cluster หรือหมวดหมู่)

          5.1 อาวุธนิวเคลียร์ - ทุกข้อมติที่เกี่ยวกับอาวุธนิวเคลียร์ โดยไทยติดตามข้อมติที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ TPNW และ fissile material อย่างใกล้ชิดเป็นพิเศษ

          5.2 WMDs อื่นๆ - ข้อมติ CWC

          5.3 อวกาศส่วนนอก - ข้อมติ “Further practical measures...” และ “Prevention of placement of weapons...”

          5.4 อาวุธตามแบบ - ข้อมติ “Problems arising from the accumulation of conventional ammunition stockpiles... ”

          5.5 ความมั่นคง รปท. - ไม่มีข้อมติที่โดดเด่นเป็นพิเศษ

          5.6 กลไกการลดอาวุธ - ไม่มีข้อมติที่โดดเด่นเป็นพิเศษ

          5.7 การลดอาวุธและความมั่นคงในระดับภูมิภาค - ข้อมติ SEANFWZ

 

6. ข้อควรระมัดระวัง เช่น ประเด็นอ่อนไหว

ทุกข้อมติตามที่ระบุในข้อ 5

 

7. กรม/กอง ที่รับผิดชอบประเด็นในคณะกรรมการ/หน่วยงานไทยที่เกี่ยวข้อง

          กองสันติภาพ ความมั่นคงและการลดอาวุธ กรมองค์การระหว่างประเทศ เป็นหลัก อย่างไรก็ดี หลายประเด็นมีหน่วยงานภายนอกกระทรวงฯ ที่เป็นเจ้าของเรื่อง และมีความชำนาญเฉพาะด้าน (เช่น สมช. ปส. ศทช.เป็นต้น) แต่ที่ผ่านมากองสันติภาพฯ มีข้อมูลองค์ความรู้และข้อมูลเพียงพอต่อการประกอบท่าทีและตัดสินใจลงคะแนนเสียงต่อร่างข้อมติ จึงไม่ได้มีการประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเด็นเหล่านี้

 

8. ข้อมูลอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับฝ่าย secretariat ของคณะกรรมการ (หากมี)

          คณะกรรมการ 1 ถือว่าเป็นคณะกรรมการที่มีความโดดเด่นในเรื่องการใช้สื่อสารสนเทศอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูล และดำเนินการประชุมให้เป็นไปอย่างเป็นระบบ โดยมี Tools ที่สำคัญ ดังนี้

            8.1 https://gafc-vote.un.org/ - ฐานข้อมูลผลการลงคะแนนเสียงต่อร่างข้อมติของคณะกรรมการ 1 ตั้งแต่ UNGA 52 จนถึงปัจจุบัน

            8.2 https://delegate.un.int - e-deleGATE Portal เป็นระบบออนไลน์สำหรับเจ้าหน้าที่ คผถ.สามารถใช้ลงทะเบียน speaker และโหลดเอกสารสำคัญต่างๆ เช่น กำหนดการประชุม และร่างข้อมติ โดยฝ่ายเลขานุการจะแจกรหัสสำหรับเข้าเมื่อการประชุมเริ่มต้นขึ้น

            8.3 http://papersmart.unmeetings.org - สำหรับค้นหา statement ทั้งหมด หากประสงค์อัพโหลด Statement บนเว็บไซต์ สามารถส่งอีเมลพร้อมไฟล์ไปที่ [email protected]

            8.4 http://research.un.org/en/docs/ga/meetings Verbatim ของการประชุม

            8.5 [email protected] อีเมลของ Secretary, First Committee, Ms. Sonia Elliott

            8.6 http://www.reachingcriticalwill.org/resources/publications-and-research First Committee Monitor เป็น publication ที่สรุปการประชุมในแต่ละวัน จัดทำโดย Reaching Critical Will
ซึ่งเป็น NGO ที่มีความ active ในด้านการลดอาวุธ