คณะกรรมการ 2 (เศรษฐกิจ การเงินและการพัฒนา)

คณะกรรมการ 2 (เศรษฐกิจ การเงินและการพัฒนา)

วันที่นำเข้าข้อมูล 23 ม.ค. 2562

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 28 พ.ย. 2565

| 3,412 view

1. ข้อมูลเกี่ยวกับคณะกรรมการ 2

1.1 หน้าที่/ความรับผิดชอบ

           คณะกรรมการ 2 รับผิดชอบประเด็นที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ การคลัง และการพัฒนา โดยระเบียบวาระที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจมหภาค (Macroeconomic Policy Questions) มีกำหนดพิจารณาทุกปี

1.2 ประเด็นสำคัญในกรอบคณะกรรมการ

          (1) ประเด็นเศรษฐกิจมหภาคและความเชื่อมโยงกับการพัฒนาที่ยั่งยืน (2) บทบาทของเทคโนโลยีต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (3) การสนับสนุนเงินทุนเพื่อการพัฒนา (Financing for Development : FfD) (4) การพัฒนาที่ยั่งยืน (5) การขจัดความยากจน  (6) การปฏิรูปกระบวนการทำงานของสหประชาชาติ (7) เกษตรกรรมและการพัฒนาที่ยั่งยืน (8) การสร้างความเป็นหุ้นส่วน

1.3 กรอบระยะเวลาการทำงาน

          คณะกรรมการฯ ใช้เวลาในการทำงานประมาณ 2 เดือน

  • UNGA72 - คณะกรรมการฯ เริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่วันที่ 25 ก.ย. - 30 พ.ย. 2560
  • UNGA73 - คณะกรรมการฯ เริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่วันที่ 4 ต.ค. - 29 พ.ย. 2561

1.4 ลักษณะ/รูปแบบการทำงาน

          ในภาพรวม คณะกรรมการ 2 ดำเนินการประชุมเต็มคณะ (plenary) ตามระเบียบวาระที่ปรากฏใน Proposed Programme of Work โดยทั่วไปแล้ว การดำเนินการประชุมในแต่ละระเบียบวาระจะประกอบไปด้วย (1) การกล่าวถ้อยแถลงของกลุ่มประเทศ และประเทศต่าง ๆ (2) การรับรองร่างข้อมติ โดยในการประชุมเต็มคณะของคณะกรรมการ 2 ครั้งสุดท้าย ที่ประชุมจะรับรองร่างข้อมติที่ยังค้างอยู่ เพื่อส่งต่อให้ที่ประชุมเต็มคณะของ UNGA พิจารณาต่อไป

1.5 กระบวนการขั้นตอนการนำเสนอและพิจารณาร่างข้อมติ

1. ประเทศหรือกลุ่มประเทศเสนอร่างข้อมติ ทั้งนี้ ร่างมติส่วนใหญ่ของคณะกรรมการ 2 มักเป็นข้อเสนอจากกลุ่ม 77

2. ฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการ 2 บรรจุร่างข้อมติในระเบียบวาระพิจารณา

3. หากเป็นข้อมติที่มีนัยสำคัญ ประเทศหรือกลุ่มประเทศที่เสนอร่างข้อมติจะจัดประชุม Informal เพื่อเจรจาถ้อยคำให้เป็นที่ยอมรับ (อาจหารือมากกว่า 1 ครั้ง)

4. ร่างข้อมติเข้าสู่การประชุมเต็มคณะ (plenary) ของคณะกรรมการ 2 เพื่อรับรองโดยฉันทามติ หรือการลงคะแนนเสียง (แล้วแต่กรณี)

5. ร่างข้อมติเข้าสู่การประชุมเต็มคณะของ UNGA เพื่อรับรอง

 

2. ผู้เล่นสำคัญ

2.1 ประเทศและกลุ่มประเทศที่มีบทบาทสำคัญ 

  • กลุ่มประเทศ - (1) กลุ่ม 77 ในประเด็นด้านเศรษฐกิจ การคลัง และการพัฒนา (2) กลุ่มสหภาพยุโรป ในประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การปฏิรูปการทำงานของสหประชาชาติ ผลผูกผันด้านงบประมาณ (Programme Budget Implication : PBI) (3) กลุ่ม CANZ ประกอบด้วย แคนาดา ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ในประเด็นความเท่าเทียมทางเพศ
  • ประเทศ - (1) สหรัฐฯ ในร่างข้อมติทุกร่างข้อมติที่เกี่ยวข้องกับการค้าเสรี WTO การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการถ่ายทอดเทคโนโลยี (2) จีน ในประเด็นที่เกี่ยวกับการคมนาคมและการพัฒนาที่ยั่งยืน เทคโนโลยี และพลังงาน (3) ญี่ปุ่น ในประเด็นที่อาจก่อให้เกิดผลผูกผันเชิงงบประมาณ (4) มัลดีฟส์ ในประเด็น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

2.2 ประเทศหรือกลุ่มที่เป็นพันธมิตรกับไทย - กลุ่ม 77 / ASEAN มักแสดงท่าทีไปในทิศทางเดียวกับไทย

          2.3 ประเทศหรือกลุ่มที่มีท่าทีขัดแย้งกับผลประโยชน์ของไทย - ในการประชุม UNGA 72 ไม่ได้มีประเทศหรือกลุ่มที่มีท่าทีที่ขัดแย้งกับผลประโยชน์ของไทยเป็นการเฉพาะ อย่างไรก็ดี กลุ่มประเทศ เช่น EU หรือสหรัฐฯ มักมีท่าทีที่ไม่สอดคล้องกับท่าทีของกลุ่ม 77 โดยเฉพาะในประเด็น FfD หรือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

 

3. ผลประโยชน์ของไทย

          3.1 ไทยให้ความสำคัญกับการปฏิรูประบบเศรษฐกิจ การเงิน และการคลังระหว่างประเทศเพื่อให้เกิดความโปร่งใส เป็นธรรม และเอื้อต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ควบคู่กับการส่งเสริมธรรมาภิบาลทางการเงินที่ดี

          3.2 ไทยสนับสนุนการปฏิบัติงานของสหประชาชาติในการช่วยเหลือประเทศต่างๆ ในการอนุวัติวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยไทยได้ผลักดันแนวคิดในเรื่องปรัญชาเศรษฐกิจพอเพียงในฐานะที่เป็น home grown approach ของไทย ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้กับบริบทของประเทศต่างๆ ได้ 

          3.3 โดยที่ไทยประสงค์จะสมัครเป็นสมาชิก ECOSOC วาระปี ค.ศ. 2020 - 2022 ไทยจึงควรแสดงบทบาทที่แข็งขันของไทยในคณะกรรมการ 2 รวมถึงกรอบการประชุมอื่นๆ รวมถึงใช้ประโยชน์จากการเจรจาข้อมติ UNGA คกก. 2 เรื่อง Operational activities for development of the United Nations System เพื่อแสดงวิสัยทัศน์ของไทยในกระบวนการปรับปรุง UN development system ซึ่งเชื่อมโยงกับการปฏิรูป UN ในภาพรวม

          3.4 โดยที่ไทยมีนโยบายในเรื่อง ประเทศไทย 4.0 ซึ่งให้ความสำคัญกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ไทยจึงอาจมีบทบาทที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้นในการเจรจาร่างข้อมติที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะ ร่างข้อมติที่ 18 Information and communication technologies for sustainable development และร่างข้อมติ 21 (b) Science, technology and innovation for development

 

4. บทบาทสำคัญของไทย

          4.1 ผู้แทนไทยกล่าวถ้อยแถลงใน 11 ระเบียบวาระ ได้แก่ (1) General debate statement (2) ระเบียบวาระที่ 16 : Information and communications technologies for sustainable development (3) ระเบียบวาระที่ 17 : Macroeconomic policy questions และ ระเบียบวาระที่ 18 : Follow-up and implementation of the outcomes of the International Conferences on Financing for Development (4) ระเบียบวาระที่ 19 : Sustainable development (5) ระเบียบวาระที่ 20: Implementation of the outcome of the UN Conference on Human Settlements and on Housing and Sustainable Urban Development and strengthening of the United Nations Housing Settlements Programme (UN-Habitat) (6) ระเบียบวาระที่ 21 : Globalization and interdependence (7) ระเบียบวาระที่ 22 : Countries in special situation (8) ระเบียบวาระที่ 23 : Eradication of poverty and other development issues (9) ระเบียบวาระที่ 24 : Operational activities for development (10) ระเบียบวาระที่ 25 : Agriculture development, food security and nutrition (11) ระเบียบวาระที่ 26 : Towards Global Partnerships

          4.2 ไทยร่วมอุปถัมภ์ร่างข้อมติ 3 ฉบับ (ระเบียบวาระที่ 19 World Bee Day และ International cooperation and coordination for the human and ecological rehabilitation and economic development of the Semipalantinsk region of Kazakhstan และระเบียบวาระที่ 25 United Nations Decade of Family Farming ของ UNGA72)

          4.3 ไทยร่วมฉันทามติร่างข้อมติ 30 ฉบับ ลงคะแนนเสียงสนับสนุน 12 ฉบับ  

          4.4 แม้ไทยไม่ได้ดำรงตำแหน่งประธานกลุ่ม 77 แล้ว ประเทศคู่เจรจายังคงคาดหวังให้ไทยช่วยแนะนำหรือหาหนทางแก้ไขปัญหา โดยหลายครั้ง ประเทศคู่เจรจาพยายามขอหารือกับไทยในลักษณะ Troika ซึ่งประกอบด้วย ไทย (ประธานปีที่ผ่านมา) เอกวาดอร์ (ประธานปีปัจจุบัน) และอียิปต์ (ประธานปีหน้า) ในการเจรจาประเด็นสำคัญๆ รวมถึง cross-cutting language ซึ่งสะท้อนการให้คุณค่าผลงานของไทยในฐานะที่เคยดำรงตำแหน่งประธานกลุ่ม 77

 

5. ร่างข้อมติสำคัญสำหรับ UNGA73

          5.1 ระเบียบวาระที่ 17 Macroeconomic policy questions (a-f) และระเบียบวาระที่ 18 Follow-up to and implementation of the outcomes of the International Conferences on Financing for Development โดยข้อมติภายใต้หัวข้อเศรษฐกิจมหภาคเหล่านี้อาจได้รับผลกระทบจาก ท่าที/นโยบาย ที่เปลี่ยนไปของประเทศใหญ่ ๆ โดยเฉพาะสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ซึ่งส่งผลให้ต้องมีการลงคะแนนในร่างข้อมติหลายฉบับใน UNGA 72

          5.2 ระเบียบวาระที่ 19 Sustainable development มีประเด็นที่ควรติดตามท่าทีของประเทศต่าง ๆ ต่อข้อมติย่อย เช่น การคุ้มครองสภาพภูมิอากาศ การเข้าถึงพลังงาน ความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นต้น

          5.3 ระเบียบวาระที่ 24  Operational activities for development  เนื่องจากไทยจะสมัครเป็นสมาชิก ECOSOC วาระปี ค.ศ. 2020 - 2022 จึงควรใช้ประโยชน์จากการเจรจาข้อมตินี้เพื่อแสดงบทบาทของไทย

 

6. ข้อควรระมัดระวัง และประเด็นอ่อนไหว 

          6.1 การลดหรือรวมร่างข้อมติ - ประเทศคู่เจรจาน่าจะพยายามผลักดันให้มีการตัด ลด หรือรวมร่างข้อมติ หรือเปลี่ยนจากข้อมติรายปี เป็นราย 2 ปี ทั้งนี้ เพื่อลดจำนวนร่างข้อมติของ คกก. 2 เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น และประหยัดทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด โดยเน้นวาระของโลกที่เป็นปัจจุบัน และมีความสำคัญในลำดับต้น ๆ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • ร่างข้อมติที่มีแนวโน้มถูกตัด เช่น Implementation of Agenda 21, the Programme for the Further Implementation of Agenda 21, and the outcome of the World Summit on Sustainable Development and of the United Nations Conference on Sustainable Development เนื่องจากคู่เจรจามองว่าทั้งหมด obsolete และถูก overtaken โดย 2030 Agenda แล้ว
  • ร่างข้อมติที่มีแนวโน้มถูกผลักดันให้รวมกัน เนื่องจากเชื่อมโยงกัน เช่น เรื่อง Information and communications technologies for sustainable development กับเรื่อง Science, technology and innovation for development 

​          6.2 ประเด็น cross-cutting language - การเจรจา cross-cutting language เป็นไปอย่างยากลำบากเนื่องจากคู่เจรจาปฏิเสธที่จะ “เปิด” cross-cutting language ใหม่ และยืนยันให้ใช้ agreed language เดิมจาก UNGA71 โดยประเด็นที่มีความท้าทาย คือ (1) การอ้างถึงความตกลงปารีส (2) ประเด็นเรื่องความครอบคลุมในการดำเนินการด้านการพัฒนา ตามถ้อยคำ “no country and no one is left behind” (3) การคงเงื่อนไข “unless otherwise agreed” ท้ายทุกข้อมติ เพื่อที่คู่เจรจาจะมีโอกาสตัดและลดจำนวนร่างข้อมติในปีต่อไป

          6.3 นโยบายของสหรัฐฯ - ผู้แทนสหรัฐฯ ได้แจ้งอย่างเปิดเผยตั้งแต่แรกเริ่มว่า เนื่องจากการเปลี่ยนรัฐบาล (administration) ทำให้สหรัฐฯ อยู่ระหว่างทบทวนนโยบายภายใน ปท. โดยเฉพาะประเด็นการค้า WTO และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งผลให้สหรัฐฯ ไม่สามารถยอมรับถ้อยคำที่เป็น agreed language จาก UNGA71 หลายถ้อยคำได้ นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังใช้แนวทาง “prioritize engagement” โดยเลือกเข้าร่วม กปช. Informals ของร่างข้อมติที่สหรัฐฯ ให้ความสำคัญเท่านั้น

          6.4 ผลผูกพันด้านงบประมาณ (programme budget implication: PBI) – ปท. คู่เจรจาให้ความสำคัญกับประเด็น PBI โดยโยงประเด็น PBI ในร่างข้อมติฯ เข้ากับกระบวนการการปฏิรูป UN

          6.5 ประเด็นความครอบคลุมของการดำเนินการพัฒนา (ถ้อยคำ Member States กับ States และ Countries and peoples under foreign occupation) ดังเช่นปีที่ผ่านมา ถ้อยคำข้างต้นยังคงเป็นประเด็นการเมืองที่มีความละเอียดอ่อน และเกือบนำไปสู่การลงคะแนนเสียงในหลายข้อมติ (เช่น Human resources development, Information and communications technologies for development, Women in development) ท้ายที่สุด กลุ่ม 77 ได้แสดงความยืดหยุ่นและถอนถ้อยคำดังกล่าว ในปีนี้หากกลุ่ม 77 ยังคงยืนยันจะเสนอ การเจรจาก็น่าจะเป็นไปด้วยความยากลำบาก และยากจะหาท่าทีประนีประนอมกันได้

 

7. กรม/กอง ที่รับผิดชอบประเด็นในคณะกรรมการ/หน่วยงานไทยที่เกี่ยวข้อง

           7.1 การพัฒนาที่ยั่งยืน การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์และการพัฒนาที่อยู่อาศัยและเมืองอย่างยั่งยืน วาระใหม่เพื่อการพัฒนาเมือง (New Urban Agenda) กลุ่มประเทศในสถานการณ์พิเศษ ได้แก่ ประเทศกำลังพัฒนาที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล (Landlocked Developing Countries – LLDCs) ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด (Least Developed Countries – LDCs) – กองกิจการเพื่อการพัฒนา กรมองค์การระหว่างประเทศ

           7.2 เศรษฐกิจ การเงิน การค้าระหว่างประเทศ ระบบการเงินระหว่างประเทศ หนี้ภายนอกประเทศ การเข้าถึงแหล่งเงินทุนอย่างทั่วถึง - กองนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

 

8. ข้อมูลอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับฝ่าย secretariat ของคณะกรรมการ (หากมี)

          8.1 http://www.un.org/en/ga/second/index.shtml - เว็บไซต์ของคณะกรรมการ 2 ซึ่งมีลิงค์ไปที่ข้อมูลเอกสาร (documents) bureau และฝ่ายเลขานุการการประชุม รวมถึงข่าวสารนิเทศสรุปผลการประชุม (press releases)

          8.2 https://delegate.un.int - e-deleGATE Portal ระบบพอร์ทัลสำหรับเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในช่วงการประชุม UNGA โดยสามารถลงทะเบียน speaker ร่วมอุปถัมภ์ร่างข้อมติ

          8.3 http://papersmart.unmeetings.org – ค้นหาถ้อยแถลงทั้งหมดที่กล่าวในการประชุม UNGA
และการประชุมในกรอบที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ และหากประสงค์จะอัพโหลด Statement บนเว็บไซต์ สามารถส่งอีเมลพร้อมไฟล์ไปที่ [email protected]

          8.4 [email protected] อีเมล์ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการ 2

          8.5 http://webtv.un.org/meetings-events/ - UN Webcast สามารถเลือกชมวิดีโอการประชุมในแต่ละระเบียบวาระของแต่ละกรรมการได้