คณะกรรมการ 3 (สังคม มนุษยธรรม และวัฒนธรรม)

คณะกรรมการ 3 (สังคม มนุษยธรรม และวัฒนธรรม)

วันที่นำเข้าข้อมูล 23 ม.ค. 2562

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 28 พ.ย. 2565

| 3,350 view

1. ข้อมูลเกี่ยวกับคณะกรรมการ 3 

1.1 หน้าที่/ความรับผิดชอบ

          ประเด็นด้านสังคม มนุษยธรรม และสิทธิมนุษยชน รวมถึงการพิจารณารายงานของกลไกพิเศษคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน (Human Rights Council : HRC) เช่น special rapporteurs, independent experts, working groups ซึ่งมี thematic mandate หรือ country-specific mandate

          มีข้อมติที่เกี่ยวข้องกว่า 60 ฉบับ รวมถึง country-specific resolutions เกี่ยวกับสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศนั้นๆ

1.2 ประเด็นสำคัญในกรอบคณะกรรมการ

  • สิทธิมนุษยชนในภาพรวมและสถานการณ์รายประเทศ
  • การพัฒนาสังคม
  • สิทธิของกลุ่มต่าง ๆ โดยเฉพาะสตรี เด็กและเยาวชน คนพิการ ผู้สูงอายุ และแรงงานข้ามชาติ
  • ความยุติธรรมทางอาญา รวมถึงการปฏิบัติต่อผู้ถูกคุมขัง
  • ยาเสพติด

1.3 กรอบระยะเวลาการทำงาน

คณะกรรมการ 3 มีกรอบระยะเวลาการทำงานประมาณ 2 เดือน (ตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคม - ปลายเดือนพฤศจิกายน)

1.4 ลักษณะ/รูปแบบการทำงาน

แบ่งออกเป็น 2 ส่วน

          (1) การประชุมเต็มคณะ (plenary) โดยใน 1 session จะเป็นการนำเสนอรายงานหรือ findings โดย special procedures mandate holders (เช่น IE on Sexual Orientation and Gender Identity) หรือฝ่ายเลขาฯ ของ UN (เช่น SRSG on Children in Armed Conflict) และเปิดให้กลุ่มประเทศ/ประเทศ/องค์กรต่าง ๆ กล่าวถ้อยแถลง ตามระเบียบวาระของคณะกรรมการ 3

          (2) การเจรจาร่างข้อมติในลักษณะ informal consultations เป็นการประชุมกลุ่มย่อย เกี่ยวกับร่างข้อมติต่าง ๆ ที่จะเสนอต่อคณะกรรมการ 3 และ plenary ต่อไป โดยส่วนใหญ่จะจัดในช่วงเวลาคู่ขนานกับการประชุม plenary หรือในช่วงเวลาพักเที่ยง โดยความละเอียดอ่อนของแต่ละร่างข้อมติจะมีความแตกต่างกันไป นอกจากนี้ บางร่างข้อมติยังมีการหารือภายในกลุ่ม G77 and China ก่อนนำไปถกเถียงกันในวงกว้างอีกด้วย

1.5 กระบวนการขั้นตอนการนำเสนอและพิจารณาร่างข้อมติ

           ส่วน informal consultations: ประเทศหรือกลุ่มประเทศ (core group) เสนอร่างข้อมติ (zero text) -> ร่างข้อมติถูกบรรจุในระเบียบวาระของคณะกรรมการ 3 –> ฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการ 3 เวียนร่างข้อมติทางอีเมล -> เจรจา text เพื่อหาจุดร่วม –> ร่างข้อมติเข้าสู่ silence procedure (24 ชม.)

           ส่วน formal consultations: เมื่อร่างข้อมติผ่านกระบวนการ informals แล้ว core group จะเสนอร่างข้อมติเข้าสู่การประชุมของคณะกรรมการ 3 อย่างเป็นทางการ -> อาจมีบางประเทศขอแก้ไข/เจรจาเพิ่มเติม (โดยเฉพาะในส่วนที่ไม่สามารถหาข้อสรุปได้ใน informals) โดยกล่าวเป็น intervention และ/หรือส่ง written submission -> รับรอง (โดยฉันทามติหรือการ vote) –> คณะกรรมการ 3 เสนอร่างข้อมติที่รับรองแล้วต่อ plenary ของ GA 

 

2. ผู้เล่นสำคัญ

          2.1 ประเทศหรือกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญ

  • กลุ่ม G77 and China (บ้างข้อมติ) / กลุ่ม NAM / จีน / รัสเซีย /สิงคโปร์
  • กลุ่มประเทศในลาตินอเมริกา โดยเฉพาะบราซิล อาร์เจนตินา เอกวาดอร์ เม็กซิโก คิวบา เปรู ปารากวัย เวเนซุเอลา โคลอมเบีย กัวเตมาลา
  • กลุ่มประเทศตะวันตก โดยเฉพาะ สหรัฐฯ / สหภาพยุโรป / อังกฤษ / สวิตเซอร์แลนด์ / แคนาดา  
  • กลุ่มแอฟริกา โดยเฉพาะ อียิปต์ เอริเทรีย คอโมโรส แอฟริกาใต้
  • Holy See

​2.2 ประเทศหรือกลุ่มที่เป็นพันธมิตรกับไทย

  • ประเทศอาเซียน
  • กลุ่ม G77 and China
  • NAM 
    (ขึ้นอยู่กับข้อมติและประเด็น)

2.3 ประเทศหรือกลุ่มที่มีท่าทีขัดแย้งกับผลประโยชน์ของไทย
          (ขึ้นอยู่กับข้อมติและประเด็น)

 

3. ผลประโยชน์ของไทย

           การร่วมสร้างบรรทัดฐานด้านสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะในประเด็นที่ไทยให้ความสำคัญและมีการดำเนินการที่ดี โดยไม่เกินไปกว่าขอบเขตของพันธกรณีระหว่างประเทศของไทย

 การไม่ให้ใช้เวทีด้านสิทธิมนุษยชนมาเป็นเครื่องมือทางการเมืองของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง (politicize)

 

4. บทบาทสำคัญของไทย

กล่าวถ้อยแถลงภายใต้ระเบียบวาระต่าง ๆ โดยส่วนมากจะกล่าวในวาระดังนี้

  • Social Development (โดยผู้แทนเยาวชน)
  • Advancement of Women
  • Report of the UN High Commissioner for Refugees, questions relating to refugees, returnees and displaced persons and humanitarian questions
  • Promotion and protection of the rights of children
  • Elimination of racism, racial discrimination, xenophobia and related intolerance
  • Promotion and protection of human rights
  • Crime prevention and criminal justice รวมกับวาระ International drug control
  • รวมถึงการกล่าวในนามของกลุ่มประเทศอาเซียนในบางระเบียบวาระ

         เป็นเจ้าภาพร่วม/ร่วมอุปถัมภ์กิจกรรมคู่ขนานที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการส่งเสริมประเด็นสิทธิมนุษยชนที่ไทยให้ความสนใจ อาทิ สตรี เด็ก สาธารณสุข การโยกย้ายถิ่นฐาน

 

5. ร่างข้อมติสำคัญ (แยกตาม cluster หรือหมวดหมู่)

  • ข้อมติเกี่ยวกับการดำเนินการของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน (HRC) โดยเฉพาะหากมีประเด็นประสิทธิภาพการทำงานและข้อเสนอในการปฏิรูป HRC
  • ข้อมติเกี่ยวกับการดำเนินการของสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR)
  • ข้อมติเกี่ยวกับการพัฒนาสังคมและ inclusive development
  • ข้อมติเกี่ยวกับสิทธิของกลุ่มต่าง ๆ โดยเฉพาะสตรี เด็กและเยาวชน คนพิการ ผู้สูงอายุ และแรงงานข้ามชาติ
  • ข้อมติสถานการณ์สิทธิมนุษยชนรายประเทศ โดยเฉพาะเมียนมา
  • ข้อมติเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อผู้คุมขัง (Bangkok Rules, Mandela Rules)
  • ข้อมติเกี่ยวกับการต่อต้านยาเสพติดและการพัฒนาทางเลือก (Alternative Development)

 

6. ข้อควรระมัดระวัง เช่น ประเด็นอ่อนไหว

  • ประเด็นที่มีความอ่อนไหวทางการเมือง เช่น ประชาธิปไตย เสรีภาพในการแสดงออก เสรีภาพในการรวมกลุ่ม นักปกป้องสิทธิมนุษยชน (human rights defenders)
  • การใช้คำว่า “ผู้ลี้ภัย”  (เนื่องจากไทยยังไม่ได้เข้าเป็นภาคีของ  1951 Refugee Convention)
  • Armed conflict, humanitarian situations, application of international humanitarian law
  • Vulnerable groups vs. people with vulnerabilities vs. people in vulnerable situations
  • Sexual and reproductive health and rights
  • “The family” vs. “Families”
  • สถานการณ์สิทธิมนุษยชนรายประเทศ โดยเฉพาะเมียนมา

 

7. กรม/กอง ที่รับผิดชอบประเด็นในคณะกรรมการ/หน่วยงานไทยที่เกี่ยวข้อง

  หน่วยงานในกระทรวง

หน่วยงานหลัก: กองการสังคม กรมองค์การระหว่างประเทศ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย

            1. ฝ่ายสิทธิมนุษยชน (Human Rights - HR): สิทธิมนุษยชนในภาพรวม / การดำเนินการของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน (HRC) ในภาพรวม / สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง / สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม / การไม่เลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ / สิทธิของชนพื้นเมือง / การต่อต้านการทรมาน / การต่อต้านการอุ้มหาย / สิทธิของกลุ่มต่าง ๆ อาทิ สตรี ครอบครัว เด็กและเยาวชน ผู้สูงอายุ คนพิการ / ข้อมติสถานการณ์สิทธิมนุษยชนรายประเทศ / ความร่วมมือระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน

            2. ฝ่ายการโยกย้ายถิ่นฐาน (Human Migration - HM): ผู้ลี้ภัย / ผู้โยกย้ายถิ่นฐาน / ผู้พลัดถิ่น / แรงงาน / การค้ามนุษย์

            3. ฝ่ายความมั่นคงของมนุษย์ (Human Security - HS): กระบวนการยุติธรรม หลักนิติธรรม และ
หลักธรรมาภิบาล (CCPCJ) / อาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญา (CCPCJ และ UNTOC) / สิทธิของผู้ถูกคุมขัง (Bangkok Rules, Mandela Rules) / ยาเสพติดและการพัฒนาทางเลือก (UNODC และ CND) / การป้องกันและปราบปรามการทุจริต (UNCAC)

             หน่วยงานรอง: กรมภูมิภาค (สำหรับ country-specific resolutions) / กลุ่มงานความมั่นคงระหว่างประเทศ / กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย

   หน่วยงานนอกกระทรวง

             กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กรมราชทัณฑ์ ยธ. / กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว, กรมกิจการเด็กและเยาวชน, กรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการ กรมกิจการผู้สูงอายุ, กองต่อต้านการค้ามนุษย์ พม. / มท. / สมช. / สตช. / สตม. / รง. / ปปช. / ปปส. / สำนักงานอัยการสูงสุด / Thailand Institute of Justice (TIJ)

 

8. ข้อมูลอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับฝ่าย secretariat ของคณะกรรมการ (หากมี)

          8.1 ควรติดตาม UN Journal เป็นประจำ - https://journal.un.org/  ซึ่งจะมีกำหนดการประชุม plenary และ informal consultations ของ คกก. 3 ของแต่ละวัน

          8.2 https://delegate.un.int - e-deleGATE Portal เป็นระบบออนไลน์สำหรับเจ้าหน้าที่ คผถ. สามารถใช้ลงทะเบียน speaker และโหลดเอกสารสำคัญต่างๆ เช่น กำหนดการประชุม และร่างข้อมติ โดยฝ่ายเลขานุการจะส่งอีเมล์มาทุกครั้งที่มีการอัพโหลดร่างข้อมติ หรือมีการอัพเดทเวลาและห้องประชุม informal ต่าง ๆ

          8.3 http://papersmart.unmeetings.org - สำหรับค้นหา statement ทั้งหมด หากประสงค์อัพโหลด Statement บนเว็บไซต์ สามารถส่งอีเมลพร้อมไฟล์ไปที่ [email protected]

          8.4 ต้องลงชื่อใน mailing list ของคณะกรรมการ 3 และ ควรพยายามลงชื่อและอีเมล์ใน mailing list ของร่างข้อมติต่าง ๆ เพื่อให้ได้รับร่างล่าสุดเสมอ และติดตามว่ามีการเปลี่ยนแปลงเวลา/ห้องประชุมหรือไม่ (ทั้งนี้ ใน UN Journal จะมีเหมือนกันแต่อาจไม่ update เท่า core group)

          8.5 ควรศึกษาพัฒนาการของประเด็นต่าง ๆ ในกรอบ HRC, IOM, UNHCR, ILO ที่เจนีวา และกรอบ CCPCJ, CND, UNTOC, UNCAC, UNODC ที่เวียนนาด้วย